Pradthana’s Weblog

DO- sat ตามความเปลี่ยนแปลงของ temperature และ Cl-

Posted on: มีนาคม 19,2008

ออกซิเจนในแหล่งน้ำยังมาจากการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชส่วนการหายใจของสิ่งมีชีวิตและกระบวนการย่อยสารอินทรีย์ที่เกิดจากจุลินทรีย์รวมทั้งการทำปฏิกิริยากับสารอนินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำทำให้แหล่งน้ำสูญเสียออกซิเจน

ในภาวะทั่วไปช่วงเวลาเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นออกซิเจนละลายจะมีค่าต่ำสุด แล้วค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นในตอนกลางวัน จนมีค่าสูงสุดในตอนบ่าย อันเนื่องจากการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช

ส่วนในตอนกลางคืนไม่มีกระบวนการสังเคราะห์แสงเกิดขึ้น สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำมีแต่การใช้ออกซิเจนเพื่อการหายใจ ทำให้ออกซิเจน ละลายค่อย ๆ ลดลงอีกครั้ง

น้ำที่มีออกซิเจนละลายอยู่เต็มที่ (อยู่ในสมดุลพอดี) เรียกว่า อิ่มตัว (saturation)

น้ำที่มีออกซิเจนละลายอยู่น้อย เรียกว่า ยังไม่อิ่มตัว (unsaturation) และ

น้ำที่มีออกซิเจนละลายอยู่มากกว่าสมดุลเรียกว่า อิ่มตัวเกินไป (oversaturation)

ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในน้ำแสดงได้ในรูปของ % อิ่มตัวดังนี้ ความเข้มข้นอิ่มตัวของออกซิเจนในน้ำ อาจประมาณได้จากสูตร

การลดระดับออกซิเจนละลายในน้ำ

เมื่อเกิดภาวะการละลายของออกซิเจนสู่น้ำเมื่อขาดแคลน เรียก ภาวะความอิ่มตัวของ ออกซิเจนละลาย หรือ D.O. Saturation Percentage : S.P. การเปลี่ยนค่า % อิ่มตัวของ DO ในแหล่งน้ำที่มีสารอินทรีย์เจือปน (ในกรณีนี้ S.P. มีค่า = 100%)

จากภาพจุดเริ่มต้น มี DO อิ่มตัว เมื่อเกิดการเจือปนของสารอินทรีย์ เกิดความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมีขึ้น แสดงโดย Deoxygenation curve

เมื่อ DO ลดต่ำกว่าจุดอิ่มตัว Reaeration rate จะเพิ่มขึ้น DO สุทธิจากทั้ง2เหตุการณ์เป็นเส้นโค้งแสดง การลดต่ำลงของค่า % ความอิ่มตัวของ DO เรียกว่า DO Sag curve

หากจุดที่ขาดแคลน DO มีระดับ DO ต่ำกว่า Minimum DO จะกลายเป็น จุดวิกฤต (Critical point)

ดังนั้นสรุปได้ว่า…

ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำจะขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิและ Cl-

ดังนี้เมื่ออุณหภูมิเพิ่มการละลายของออกซิเจนในน้ำลดลง อัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ ในน้ำจะเพิ่มขึ้น

หมายความว่าความต้องการออกซิเจนจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในขณะที่ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยลง น้ำที่มี Cl- สูง

นั่นก็คือเป็นน้ำที่มีความเค็มสูงตาม ปริมาณของ Cl- ความสามารถในการละลายของออกซิเจนจะลดลง

นั่นคือการละลายของออกซิเจนขึ้นอยู่กับปริมาณ Cl- ในน้ำซึ่งถ้าในน้ำนั้นมีออกซิเจนละลายอยู่เต็มที่ก็จะเกิดเป็น DO saturation

ซึ่งก็คือเกิดในภาวะที่อุณหภูมิที่เหมาะสมและปริมาณคลอไรด์ในน้ำที่พอเหมาะ แต่ถ้าแหล่งน้ำนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีปริมาณคลอไรด์ที่เพิ่มขึ้นค่า DO จะต่ำลงหรือ ออกซิเจนละลายอยู่น้อย แสดงว่าค่าDO ยังไม่อิ่มตัว (unsaturation) และน้ำที่มีออกซิเจน ละลายอยู่มากกว่าสมดุลเรียกว่า อิ่มตัวเกินไป (oversaturation)

by PradThaNa P.

2 Responses to "DO- sat ตามความเปลี่ยนแปลงของ temperature และ Cl-"

มีสาระมากๆๆๆเก่งจิงๆๆเลยนิ่

ทำมัยไม่มีแนวทางแก้ไขบ้างคับ

ส่งความเห็นที่ เลิฟ ยกเลิกการตอบ

PHOTO

Blog Stats

  • 367,680 hits

วันนี้วันอารายน้อ

มีนาคม 2008
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031