Pradthana’s Weblog

Posts Tagged ‘Dissolved Oxygen

DO คืออะไร???

DO หรือ Dissolved Oxygen หรือ การหาค่าออกซิเจนละลาย คือ การหาปริมาณออกซิเจนซึ่งละลายอยู่ในน้ำ เป็นลักษณะสำคัญที่จะบอกให้ทราบว่าน้ำนั้นมีความเหมาะสมเพียงใดต่อการ ดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ และแนวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในน้ำว่าเป็น แบบใช้ออกซิเจนอิสระ (aerobic) หรือไม่ใช้ออกซิเจนอิสระ (anaerobic) ปริมาณออกซิเจนซึ่งละลายในน้ำมีความสัมพันธ์กับ

1.อุณหภูมิของน้ำ
2.ความดันบรรยากาศ
3.สิ่งเจือปนในน้ำ (impurities)

ออกซิเจนเป็นก๊าซที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินและในน้ำ สิ่งมีชีวิตในน้ำได้รับออกซิเจนจาก การสังเคราะห์แสงของพืชที่ปล่อยออกซิเจนอิสระออกมาละลายอยู่ในน้ำ และจากการแพร่ของออกซิเจนจากบรรยากาศลงสู่พื้นน้ำ ออกซิเจนเป็น ก๊าซที่ละลายน้ำได้น้อยมากและไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับน้ำ การละลายของ ออกซิเจนขึ้นอยู่กับความดัน อุณหภูมิและปริมาณของแข็งละลายในน้ำ ปริมาณออกซิเจนในน้ำธรรมชาติและน้ำเสียขึ้นอยู่กับลักษณะทางเคมี กายภาพ และกระบวนการชีวเคมีในสิ่งมีชีวิต ค่าออกซิเจนละลายมีความสำคัญ ใช้บอกให้ทราบได้ว่า น้ำนั้นมีความเหมาะสมเพียงใดต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ในน้ำและใช้ในการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียและมลภาวะทางน้ำ

วิธีวิเคราะห์ออกซิเจนที่ละลายในน้ำมันมีกี่วิธีกันแน่ ???

วิธีวิเคราะห์ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ สามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธีคือ

1.วิธีไอโอเมตริก หรือ วิธีวินเคลอ (Winkler)
2.วิธีเอไซด์แบบปรับปรุง (Azide Modification) หรือ วิธี วินเคลอแบบปรับปรุง
3.วิธีเมมเบรนอิเล็กโทรด

DO สำคัญอย่างไร ???

1.ค่า DO ในลำน้ำธรรมชาติ จะเป็นตัวชี้ถึงความสามารถของน้ำที่จะรับการ ถ่ายเทของเสียหรือการฟอกตัวเองให้บริสุทธิ์ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังแสดง ถึงความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ (เช่น ไม่ควร < 5 mg/L)

2.ช่วยในการควบคุมอัตราเร็วของปฏิกิริยาในกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงรักษาสภาวะ aerobic ไว้ได้ และป้องกันการให้อากาศมากเกินควร

3.ใช้สำหรับหาค่า BOD

4.ใช้ในการควบคุมการกัดกร่อนของเหล็กในท่อน้ำประปา และหม้อต้มน้ำ เพราะพบว่าออกซิเจนในน้ำทำให้เกิดการกัดกร่อน (corrosion) ดังนั้นจึงไม่ควร มี DO เลยในหม้อต้มน้ำ (แต่ถ้าความดันต่ำกว่า 250 psi มี DO ได้ 0.015 ppm)

วิธีการิเคราะห์หาปริมาณ DO เค้าทำกันอย่างไร???

ก็ดูตามภาพกันเลยจ้า

by PradThaNa P.

PHOTO

Blog Stats

  • 367,687 hits

วันนี้วันอารายน้อ

เมษายน 2024
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930